พิพิธภัณฑ์พืช กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑ์สมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานวิจัยการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2560 เป็นจํานวนเงิน 7,000,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมตัวอย่างสมุนไพรแห้งและดอง (herbarium specimens) ตัวอย่างเครื่องยา (crude drug collections) ประมาณ 5,000 หมายเลข จัดทําข้อมูลลักษณะทางพฤกศาสตร์จํานวน 120 ชนิด ภาพวาดลายเส้นสมุนไพรจํานวน 5 ตํารับ 72 ชนิด และเอกลักษณ์ โครมาโทรกราฟี แบบชั้นบางของสมุนไพร (TLC fingerprint) จํานวน 60 ชนิด นอกจากนี้ยังได้จัดทําระบบฐานข้อมูลตัวอยาง สมุนไพรออนไลน์ทางเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน นักวิจัย และผู้สนใจทัวไปโดยเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์สมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (Thai Traditional Medicine Herbarium) มีตัวอย่างสมุนไพรมากกว่า 3,000 ชนิด 5,000 หมายเลข และได้รับการจดทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์พืชระดับนานาชาติ (The International Association for Plant Taxonomy (IAPT)) and The New York Botanical Garden (NYBG)) โดยมีรหัสพิพิธภัณฑ์พืช (Herbarium Code) คือ TTM
วัตถุประสงค์
พิพิธภัณฑ์สมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งศึกษา วิจัย สํารวจ รวบรวมตัวอย่างสมุนไพรที่ใช้ในตํารับยาแผนไทย สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาสามัญประจําบ้าน สมุนไพรหายาก ใกล้สูญพันธุ์ ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาวิจัยและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดยจัดเก็บในรูปแบบตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ดอง และตัวอย่างเครื่องยา ตามรูปแบบพิพิธภัณฑ์พืชสากล จัดทํามาตรฐานและพิสูจน์เอกลักษณ์สมุนไพรด้วยวิธีการทางอนุกรมวิธานพืช (plant taxonomy) กายวิภาคศาสตร์ (plant anatomy) พฤกษเคมี (plant phytochemicals) และชีวโมเลกุลของพืช (plant molecular biology) เพื่อรองรับการอ้างอิงมาตรฐานสมุนไพรเพื่อการวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรทั้งในและต่างประเทศ
วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์กลางทางการอ้างอิงมาตรฐานสมุนไพรเพื่อการวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรในระดับสากล
พันธกิจ
1. ศึกษา วิจัย สํารวจ รวบรวมตัวอยางสมุนไพรที่ใชในตํารับ ยาแผนไทย สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาสามัญประจําบ้าน สมุนไพรหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาวิจัยและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
2. จัดทํามาตรฐานสมุนไพรเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิง
3. บริการตรวจสอบชนิด เทียบเคียงตัวอยางสมุนไพร และ จัดทําตัวอยางอ้างอิงงานวิจัย (voucher specimens)
4. ปฏิบัติงานร่วมมือหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
เวลาเปิดให้บริการ
เปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ ช่วงเช้า 08.30 - 12.00 น. และช่วงบ่าย 13.00 - 16.30 น.
การให้บริการทางวิชาการ
1. บริการตรวจสอบชนิดสมุนไพรที่ใช้ในตํารับยาแผนไทย
2. บริการรับฝากตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงงานวิจัยของสมุนไพรที่ใช้ในตํารับยาแผนไทย สําหรับงานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยเภสัชศาสตร์ พฤกษเคมี กายวิภาคศาสตร์ และชีวโมเลกุล
3. บริการเทียบเคียงตัวอย่างสมุนไพรที่ใช้ในตํารับยาแผนไทย
Download
>>ระเบียบการใช้พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
>>ระเบียบว่าด้วยการรับตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงงานวิจัย (voucher specimens)
>>แบบฟอร์มคำขอรับบริการพิพิธภัณฑ์สมุนไพร